วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Hard disk ฮาร์ดดีส หมายถึง








ฮาร์ดดิสก์คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI)
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์

หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเท่าใด เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี


ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปบนหัวอ่าน โดยการ กรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาทีหากเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์แล้ว หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านบนหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้น หัวอ่านจะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมาก
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก โดยขนาดของโดเมนนี้ ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์ก็จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาอันสั้นมาก

เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ โดยข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ จะเก็บอยู่ในรูปแบบของไฟล์ (File) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (Byte)  ไบต์ คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงผลออกไปเป็น ตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง  โดยที่ไบต์จำนวนมากมายนี้ จะถูกรวมกันให้เป็นเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์  ที่มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่เขียนและอ่านข้อมูลเหล่านี้  และส่งผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป

เราสามารถวัดประเมินประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้จากการทำงานใน 2 ภาคส่วนคือ
1.      เวลาในการค้นหาข้อมูล (Seek Time) คือเวลาที่ข้อมูลถูกอ่านขึ้นมาและส่งต่อไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
2.      อัตราการไหลของข้อมูล (Data Rate) คือปริมาณ (จำนวนไบต์ต่อวินาที) ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถส่งผ่านไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที


ที่มาจาก
http://guru.google.co.th/
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI)
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์

         หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเท่าใด เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี

ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์ สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจนเหมือนกับกระจก
สำหรับเทปคาสเซ็ท ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปบนหัวอ่าน โดยการ กรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาทีหากเทปมีความยาวมาก แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์แล้ว หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านบนหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว 2 นิ้วต่อวินาที (5.08 เซนติเมตรต่อวินาที) แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้น หัวอ่านจะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล ที่ความเร็วในการหมุนถึง 3000 นิ้วต่อวินาที (ประมาณ 170 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงมาก
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก ที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก โดยขนาดของโดเมนนี้ ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ความจุของฮาร์ดดิสก์ก็จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาอันสั้นมาก

เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ 60 ถึง 200 จิกะไบต์ โดยข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์ จะเก็บอยู่ในรูปแบบของไฟล์ (File) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า ไบต์ (Byte)  ไบต์ คือรหัส แอสกี้ ที่แสดงผลออกไปเป็น ตัวอักษร รูปภาพ วีดีโอ และเสียง  โดยที่ไบต์จำนวนมากมายนี้ จะถูกรวมกันให้เป็นเป็นคำสั่ง หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์  ที่มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่เขียนและอ่านข้อมูลเหล่านี้  และส่งผ่านไปยังตัวประมวลผล เพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป

เราสามารถวัดประเมินประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้จากการทำงานใน 2 ภาคส่วนคือ
1.      เวลาในการค้นหาข้อมูล (Seek Time) คือเวลาที่ข้อมูลถูกอ่านขึ้นมาและส่งต่อไปให้กับซีพียู โดยปกติประมาณ 10 ถึง 20 มิลลิวินาที
2.      อัตราการไหลของข้อมูล (Data Rate) คือปริมาณ (จำนวนไบต์ต่อวินาที) ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถส่งผ่านไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5 ถึง 40 เมกะไบต์ต่อวินาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น